วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต่อผลกระทบต่ะสิ่งแวดล้อม

ใครเป็นผู้รับผิดชอบดูแลต่อการจัดการและดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น
ปัจจุบันกิจการด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) กระทรวงพลังงาน  เพื่อให้การดำเนินงานในทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติและกฎกระทรวง ทั้งนี้ก็รวมถึงทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ซึ่งนอกจากที่ผู้รับสัมปทานจะต้องปฏิบัติตามกฏหมายปิโตรเลียมแล้ว ยังจะต้องดำเนินการให้มีการจัดทำรายงานแผนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (SEM) ก่อนการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน การศึกษาและจัดส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)  ก่อนการเจาะ และการผลิตปิโตรเลียม ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกด้วย


อุปกรณ์พื้นฐานที่เพิ่มความปลอดภัยต่อการขุดเจาะ
ปัจจุบันในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนั้น บังคับให้มีการจัดทำแผนรับมือในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อาทิเช่น การพลุ่งทะลักของน้ำมัน ณ แท่นขุดเจาะ การรั่วไหลของน้ำมันลงสู่ท้องทะเล และเหตุเพลิงไหม้ ณ แท่นผลิต ที่อาจจะส่งผลอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงได้ โดยแผนรับมือนั้น จะต้องมีการจัดเตรียมและซักซ้อมอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เตรียมพร้อมรับมือหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างทันท่วงทีและเต็มที่ร้อยเปอร์เซนต์

แล้วกรณีเกิดเหตุการไม่คาดฝันขึ้นล่ะ??
ปัจจุบันในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนั้น บังคับให้มีการจัดทำแผนรับมือในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อาทิเช่น การพลุ่งทะลักของน้ำมัน ณ แท่นขุดเจาะ การรั่วไหลของน้ำมันลงสู่ท้องทะเล และเหตุเพลิงไหม้ ณ แท่นผลิต ที่อาจจะส่งผลอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงได้ โดยแผนรับมือนั้น จะต้องมีการจัดเตรียมและซักซ้อมอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เตรียมพร้อมรับมือหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างทันท่วงทีและเต็มที่ร้อยเปอร์เซนต์

การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ฝูงปลาอาศัยอยู่อย่างชุกชุมรอบแท่นผลิตปิโตรเลียมในทะเล ที่นับวันแต่จะเพิ่มขึ้นทุกปี แสดงให้เห็นว่าบริเวณรอบแท่นผลิตนั้น สามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และยังคงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติไว้ได้อย่างดี
ประเทศไทยกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
ประเทศไทยก็เฉกเช่นทุกประเทศในโลกที่มีความต้องการทางพลังงานที่สูงขึ้นในทุกปี ดังนั้นการสำรวจค้นหาเพื่อให้มีแหล่งและปริมาณสำรองเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการใช้จึงมีความสำคัญ จำเป็นและจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดไป  อย่างไรก็ตาม ในการประกอบกิจการดังกล่าว ซึ่งดำเนินอยู่ทั้งในพื้นที่บนบกและในทะเล ก็อาจทำให้หลายคนสงสัยว่า การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนั้น จะก่อให้เกิดส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่ดำเนินการหรือไม่ มีความเสี่ยงต่ออันตรายหรือความไม่ปลอดภัยแบบไหนบ้าง
ข้อเท็จจริงที่จะสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็คือ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในราชอาณาจักรไทยนั้น การดำเนินงานในทุกขั้นตอนของผู้รับสัมปทานจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและจริงจังของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านต่างๆ ภายใต้ข้อกำหนดทั้งของพระราชบัญญัติปิโตรเลียม และพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
รายงานการวิเตราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการเจาะหลุมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจะต้องประกอบด้วยงานต่อไปนี้
  1. รายละเอียดโครงการ / กิจกรรมโครงการของเสียและการจัดการ
  2. สภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ด้านกายภาพ ชีวภาพ และการใช้ประโยชน์ของมนุษย์
  3. กิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน การรับฟังความคิดเห็น และการสำรวจทัศนคติผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง
  4. การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ อย่างเป็นระบบถูกต้อง และโปร่งใส
  5. มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการการติดตามตรวจสอบ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ


นโยบายและมาตรการป้องกันเรื่องสิ่งแวดล้อม
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) ได้กำหนดไว้ว่า  “ผู้รับสัมปทานจะต้องดำเนินการในด้านการป้องกันและบำบัดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมโดยต้องดำเนินการตามมาตรฐานสากล” 
และตามมาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ได้กำหนดว่า
“ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม ผู้รับสัมปทานต้องป้องกันโดยดำเนินมาตรการอันเหมาะสมตามวิธีการปฏิบัติงานปิโตรเลียมที่ดีเพื่อมิให้ที่ใดโสโครกด้วยน้ำมัน โคลนหรือสิ่งอื่นใด ในกรณีที่ที่ใดเกิดความโสโครกด้วยน้ำมัน  โคลน  หรือสิ่งอื่นใดเนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียม โดยผู้รับสัมปทาน ผู้รับสัมปทานต้องบำบัดปัดป้องความโสโครกนั้นโดยเร็วที่สุด ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่ดำเนินการหรือดำเนินการดังกล่าวจนเกิดความล่าช้า หรือหากไม่ดำเนินการทันที อาจก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติหรือบุคคลอื่นที่อธิบดีมอบหมายอาจเข้าดำเนินการบำบัดปัดป้องความโสโครกนั้นแทนหรือร่วมกับผู้รับสัมปทาน โดยผู้รับสัมปทานเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวทั้งหมด”
นอกจากนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้กำหนดแนวทางและมาตรการให้ผู้รับสัมปทานดำเนินการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น